หน้าแรก งานวิจัย บทความ POLICY BRIEF COVID-19 EVIDENCE UPDATE ผลงานตีพิมพ์ในประเทศ ผลงานตีพิมพ์ต่างประเทศ WEBINAR ติดต่อเรา ไทย English Search Share: Article หน้ากากอนามัยใช้ซ้ำอย่างไรจึงปลอดภัย ? Hitap พฤษภาคม 7, 2021 จำนวนผู้เข้าชม: 1,127 โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง การสวมหน้ากากในที่สาธารณะกลับมาเป็นสิ่งจำเป็น ที่ผ่านมาการใช้หน้ากากอนามัยจำนวนทำให้หลายฝ่ายกังวลถึงปริมาณหน้ากากที่อาจไม่เพียงพอ รวมถึงราคาที่สูงขึ้นและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมา เพื่อลดปัญหาเหล่านั้น การใช้หน้ากากอนามัยซ้ำอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากดร. ลูเซียน เดวิส นักระบาดวิทยาจากคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเยล (Yale School of Public Health) และเจด ฟลินน์ อาจารย์พยาบาลจากสถาบันการแพทย์ จอนส์ ฮอปกินส์(Johns Hopkins Medicine) เพื่อการถอดและใช้หน้ากากอนามัยซ้ำอย่างปลอดภัยและถูกวิธี 1. อย่าสัมผัสหน้ากากโดยตรงการใช้นิ้วมือของคุณสัมผัสไปที่หน้ากากโดยตรงอาจเป็นการสัมผัสถูกไวรัสที่อยู่บนพื้นผิวของหน้ากาก ถ้าคุณสัมผัสหน้ากากไปแล้วคุณควรล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หากจำเป็นต้องถอดหน้ากาก ควรทำในที่ปลอดภัยและห่างไกลจากผู้อื่น 2. ถอดหน้ากากให้จับเฉพาะส่วนหูของหน้ากากเท่านั้นการถอดหน้ากากออกต้องทำให้ปลอดภัยและสะอาดโดยให้มีการสัมผัสเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้จับเฉพาะส่วนที่คาดหู และหลีกเลี่ยงการสัมผัสส่วนที่เป็นหน้ากาก 3. เก็บอย่างปลอดภัยเมื่อถอดหน้ากากออกมาได้อย่างปลอดภัยแล้ว ต้องนำไปเก็บอย่างเหมาะสมและปลอดภัยไม่แพร่เชื้อ อาจใส่ในถุงกระดาษหรือบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด สามารถระบายอากาศได้เพื่อให้หน้ากากไม่อับชื้น หรืออาจใช้ทัพเพอร์แวร์พลาสติกหรือถุงซิปล็อกตามสะดวก ผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้ทำความสะอาดตัวหน้ากาก เพราะน้ำยาทำความสะอาดอาจติดอยู่ในหน้ากากและเมื่อนำมาสวม คุณอาจสูดน้ำยาเข้าไป 4. วนใช้ซ้ำเมื่อเก็บอย่างปลอดภัยแล้ว ไวรัสนั้นสามารถอยู่บนพื้นผิวได้ 24 – 48 ชั่วโมงก็จะหายไป จึงให้ทิ้งไว้ 2-3 วันก่อนนำมาใช้ใหม่ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สำรองหน้ากากไว้วนใช้ 3 – 5 ชิ้น เพื่อหมุนเวียนใช้งาน โดยใช้งาน 1 ชิ้นขณะที่ชิ้นอื่น ๆ เก็บเพื่อรอเวลาให้ไวรัสสลายไป อย่างไรก็ตามหากพบว่าหน้ากากสกปรกหรือเสียหายควรทิ้งทันที อ้างอิงhttps://news.yahoo.com/reuse-disposable-mask-yes-steps-192223361.html?guccounter=1 Previous post การศึกษาผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย Next post 3 ข้อคิด “ควรรับหรือควรรอ” วัคซีน ? จัดการอย่างไรต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบัน Start typing and press Enter to search