การศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19

รหัสโครงการ: 63191002RM018L0

นักวิจัยหลัก

   ดร. ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว

นพ. สุรัคเมธ มหาศิริมงคล
ดร. นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์

นักวิจัยร่วม

ดร. นพ.ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์
ดร. พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ
ดร.นวลจันทน์ วิจักขณ์จินดา

วริษฐา แสวงดี
พญ. ณัฐปราง นิตยสุทธิ์
มณีโชติรัตน์ สันธิ

เกี่ยวกับโครงการ

        โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยืนยันผลแล้วจำนวน 2,067 ราย โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังและสอบสวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Patient Under Investigation; PUI) กว่า 24,474 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
         การติดตามและการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นหนึ่งในมาตรการที่เป็นความพยายามในการควบคุมและป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ แนวทางในปัจจุบัน คือ มาตรการกักตัวด้วยตนเอง (self-quarantine) เป็นจำนวน 14 วัน อย่างไรก็ตาม การกักตัวบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เต็มอัตรากำลัง
         ดังนั้น หากมีแนวทางประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (HCWs contact) ที่จะสามารถใช้ปรับแนวทางในการกักกันบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสโรค COVID-19 ได้รวดเร็ว จะทำให้ HCWs contact สามารถกลับเข้าทำงานได้เร็วขึ้น จึงเกิดคำถามถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดจำนวนวันกักตัวสำหรับ HCWs contact จาก 14 วัน เป็นระยะเวลาที่ลดลงโดยคงความปลอดภัย มีโอกาสน้อยที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง อัตราการตรวจพบ COVID-19 ในผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขระหว่างถูกกักกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการที่เหมาะสมในการกักตัว โดยพิจารณาจากสัดส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (asymptomatic infection) และระยะเวลาเฉลี่ยที่จะสามารถตรวจพบ SARS-CoV-2 ในผู้สัมผัส
          ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในแบบจำลองการดำเนินไปของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่โควิด-19 ในอนาคตได้อีกด้วย   ที่ปรึกษาโครงการ  ดร. นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ และ ผศ. ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย  

video สาธิตการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง :

รายละเอียดโครงการ

ระยะเวลาโครงการ:
เริ่ม: 1 พฤษภาคม 2563
สิ้นสุด: 31 กรกฎาคม 2563

ติดต่อ:
pritaporn.k@hitap.net

สถานะงานวิจัย

อยู่ระหว่างการทำวิจัย 36%

Start typing and press Enter to search