หน้าแรก งานวิจัย บทความ POLICY BRIEF COVID-19 EVIDENCE UPDATE ผลงานตีพิมพ์ในประเทศ ผลงานตีพิมพ์ต่างประเทศ WEBINAR ติดต่อเรา ไทย English Search Share: Research การศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 Hitap กรกฎาคม 20, 2021 รหัสโครงการ: 63191002RM018L0 นักวิจัยหลัก ดร. ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นพ. สุรัคเมธ มหาศิริมงคลดร. นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ นักวิจัยร่วม ดร. นพ.ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ดร. พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะดร.นวลจันทน์ วิจักขณ์จินดา วริษฐา แสวงดีพญ. ณัฐปราง นิตยสุทธิ์มณีโชติรัตน์ สันธิ เกี่ยวกับโครงการ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยืนยันผลแล้วจำนวน 2,067 ราย โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังและสอบสวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Patient Under Investigation; PUI) กว่า 24,474 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การติดตามและการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นหนึ่งในมาตรการที่เป็นความพยายามในการควบคุมและป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ แนวทางในปัจจุบัน คือ มาตรการกักตัวด้วยตนเอง (self-quarantine) เป็นจำนวน 14 วัน อย่างไรก็ตาม การกักตัวบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เต็มอัตรากำลัง ดังนั้น หากมีแนวทางประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข (HCWs contact) ที่จะสามารถใช้ปรับแนวทางในการกักกันบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสโรค COVID-19 ได้รวดเร็ว จะทำให้ HCWs contact สามารถกลับเข้าทำงานได้เร็วขึ้น จึงเกิดคำถามถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดจำนวนวันกักตัวสำหรับ HCWs contact จาก 14 วัน เป็นระยะเวลาที่ลดลงโดยคงความปลอดภัย มีโอกาสน้อยที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง อัตราการตรวจพบ COVID-19 ในผู้สัมผัสที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขระหว่างถูกกักกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการที่เหมาะสมในการกักตัว โดยพิจารณาจากสัดส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (asymptomatic infection) และระยะเวลาเฉลี่ยที่จะสามารถตรวจพบ SARS-CoV-2 ในผู้สัมผัส ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในแบบจำลองการดำเนินไปของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่โควิด-19 ในอนาคตได้อีกด้วย ที่ปรึกษาโครงการ ดร. นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ และ ผศ. ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย video สาธิตการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง : รายละเอียดโครงการ ยุทธศาสตร์:ยุทธศาสตร์ที่ 3 ประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง:นโยบายสาธารณสุข หน่วยงานสนับสนุน:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)องค์การอนามัยโลก (WHO) ระยะเวลาโครงการ:เริ่ม: 1 พฤษภาคม 2563สิ้นสุด: 31 กรกฎาคม 2563 ติดต่อ:pritaporn.k@hitap.net คำค้น:บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมาตรการกักตัวโควิด-19โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถานะงานวิจัย อยู่ระหว่างการทำวิจัย 36% เอกสารเพิ่มเติม ดาวน์โหลดโครงร่างวิจัย ดาวน์โหลดเอกสารการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน ดาวน์โหลดเอกสารแนะนำสำหรับอาสาสมัคร ดาวน์โหลดใบยินยอมด้วยความสมัครใจ ดาวน์โหลด Leaflet Previous post Policy brief: ฉบับที่ 95: ประเทศไทยกับความต้องการและแนวทางการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ในปี 2565 Next post วัคซีนโควิด-19 ให้ผลอย่างไร ให้ใครได้ประโยชน์ที่สุด? Start typing and press Enter to search