Policy Brief: ฉบับที่ 127: แนวทางการพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19

  • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 และเมื่อบุคลากรฯ เจ็บป่วยจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ อาจนำไปสู่การแพร่เชื้อสู่ผู้ร่วมงาน ผู้ป่วยอื่นๆ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว
  • เมื่อบุคลากรฯ ถูกกักตัว แม้จะยังไม่ทราบสถานะการติดเชื้อ แต่ในระดับบุคคลย่อมก่อให้เกิดความเครียด-วิตกกังวล กระทบต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตในระดับชาติ ย่อมหมายถึงการสูญเสียกำลังคนด้านสาธารณสุขในระยะเวลาหนึ่ง
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และองค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย โครงการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขึ้น เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่า มาตรการกักตัวสำหรับบุคลากรฯ ที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด- 19 ที่เหมาะสมกับแนวทางการบริหารทรัพยากรสุขภาพในประเทศไทย ควรพิจารณาประเด็นใดบ้างและและควรดำเนินการอย่างไร
  • การศึกษาดังกล่าว เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด- 19 ในบุคลากรฯ ที่มีการเฝ้าระวังหรือกักตัว 14 วัน โดยเพิ่มความถี่ในการตรวจยืนยันผลและประเภทของการตรวจ ตลอดจนการติดตามอาการแสดงและการวัดคุณภาพชีวิต
  •  

Start typing and press Enter to search