Article

กดปุ่มรีเฟรช อัปเดตสถานะวัคซีนโควิดทั่วโลก

ถ้ามองว่าประเทศแต่ละประเทศเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มันคงจะเป็นเรื่องดีและง่ายไม่น้อยในการกำจัดเจ้าเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการสำรองข้อมูลและโปรแกรมที่จำเป็นไว้ในไดรฟ์ D แล้วก็ล้างเครื่องทิ้งไป เพื่อกำจัดไวรัสเจ้าปัญหาและเก็บรักษาสิ่งสำคัญที่อยู่ในเครื่องได้ น่าเสียดายที่เราทำแบบนั้นกับโลกจริง ๆ ไม่ได้ แต่เราสามารถรวบรวมและประมวลผลข้อมูลได้เก่งมากไม่ต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์เลย สิ่งที่ผมกำลังจะสื่อก็คือ ร่างกายของมนุษย์เราก็เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย ผู้ป่วย หรือบุคคลทั่วไป ทุกคนล้วนเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความรู้ไปสู่วัคซีน ซึ่งเป็นทางออกหนึ่งในการกำจัดโควิด-19 คราวนี้ เรากลับมาดูกันสักหน่อยว่า...

ครั้งแรกของ HITAP กับงานทอล์กที่จะทำให้คุณเห็นถึงประเด็นเรื่องวัคซีนโควิด-19 ที่คุณอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน ในงาน “โควิดมาราธอน: ห่างกันไว้ แต่ไปด้วยกัน”

                นับว่าเป็นความสำเร็จของประเทศไทยที่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ทว่า เชื้อโควิด-19 ก็ยังไม่หายไปไหน ทางออกของวิกฤตินี้คือวัคซีนจริงหรือไม่? และถ้าไม่มีวัคซีน โลกจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร? จะทำอย่างไรถ้าเราต้องอยู่กับโควิด-19 ไปยาว ๆ...

C19economics.org แพลตฟอร์มเพื่อนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายโควิด-19 ในประเทศรายได้น้อยถึงปานกลาง

ปัญหาโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศรายได้น้อยถึงปานกลางถือเป็นความท้าทายสำคัญของระบบสุขภาพ C19economics.org คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผ่านพ้นความท้าทายสำคัญนี้ไปได้ แล้ว C19economics.org คืออะไร? HITAP ขอเชิญทุกท่านโดยเฉพาะนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายสุขภาพมารู้จักแพลตฟอร์มนี้กัน IDSI (International Decision Support Initiative) และ LSHTM (London School of Hygiene...

เผชิญโควิด-19 ต้องคิดแบบมาราธอน “ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง” ทำครบอุ่นใจประเทศไทยคุมอยู่

โควิด-19 อยู่กับเรามาเกิน 1 ปีแล้ว นับจากเคสแรกตามรายงานของจีนในวันที่ 17 พฤศจิกายน ถึงตอนนี้ทั่วโลกยังคงต้องเผชิญกับการแพร่ระบาด หลายพื้นที่ยังหนักหน่วง แม้ประเทศไทยสถานการณ์จะคลี่คลายไปบ้างแล้ว แต่ดูเหมือนโควิด-19 กำลังจะกลับมาอีกครั้ง

“วัคซีนโควิด-19 ใครควรได้รับก่อน?” บันทึกเปิดมุมมองใหม่ เปิดใจเพื่อเข้าใจนโยบายสุขภาพระดับประเทศ

ทุกคนน่าจะเคยมีประสบการณ์นี้ ประสบการณ์ของการเจอสิ่งแปลกใหม่ในชีวิต การเริ่มต้นฝึกงานที่ใหม่สภาพแวดล้อมใหม่ ผู้คนใหม่ ๆ คงทำให้หลายคนรู้สึกประหม่า แม้หลายอย่างจะเป็นไปตามคาด แต่บางสิ่งก็ไม่ได้เป็นไปตามคิด สิ่งหนึ่งนั่นคือ การได้มาเข้าร่วมการประชุมสำคัญของบริษัท ไม่ใช่สิ อันที่จริงนี่อาจเป็นการประชุมสำคัญของประเทศ เพราะหัวข้อของการประชุมนี้คือ “ใครควรได้วัคซีนโควิด-19 ก่อน” ที่ผ่านมาทุกคนคงได้เห็นการถกประเด็นนี้ผ่านตามาบ้างในโลกโซเชียล แต่การประชุมนี้ต่างออกไป การถกประเด็นด้วยหลักฐานงานวิจัยสนับสนุน สอบถามแลกเปลี่ยนด้วยข้อคิดเห็นที่ลึกและแน่นในเชิงวิชาการ จนถึงแง่คิดที่มองกว้างไกลในระดับบริหาร...

5 สิ่งที่คุณอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

วัคซีนกำลังกลายเป็นสิ่งที่หลายคนเฝ้ารอและคาดหวังว่าจะช่วยคลี่คลายวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ชีวิตหลังวัคซีนมาถึงจะเป็นเหมือนชีวิตก่อนหน้าโควิด-19 ทว่าจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร ? ต่อไปนี้คือ 5 ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้เข้าใจวัคซีนได้อย่างถูกต้อง และตระหนักว่าวัคซีนนั้นไม่ใช่ทางออกของทุกปัญหา แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดการแพร่เชื้อลงได้ ยังมีมาตรการอีกมากมายที่หลายฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค และกลับมาใช้ชีวิตกันได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง 1.วัคซีนมาแล้วโรคระบาดจะหายไปทันที วัคซีนมีส่วนสำคัญในการช่วยควบคุมการระบาดของโรค แต่การมาถึงของวัคซีนไม่ได้ทำให้การระบาดของโรคหายไปในทันที เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการระบาด...

วัคซีนโควิด-19 ประสิทธิผล 90% ดีกว่า 70% เสมอหรือไม่?

ในช่วงปลายปี 2020 ข่าววัคซีนโควิด-19 ที่มีประสิทธิผล 90% ดูเหมือนจะเป็นความหวังของผู้คนทั่วทั้งโลก สายตาของประชาชนนานาประเทศจับจ้องไปที่วัคซีนที่ยังไม่รู้ว่าจะเดินทางมาหาตนได้เมื่อใด และมองวัคซีนที่มีประสิทธิผลต่ำกว่าด้วยความเคลือบแคลงใจ ทว่า อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะบ่งบอกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิดใดให้ผลดีกว่า ในแง่การควบคุมการระบาด ลดจำนวนผู้ป่วยได้ดีกว่า คือ ระยะเวลาที่วัคซีนให้ผลคุ้มครอง ผลการวิจัยซึ่ง HITAP ดำเนินการร่วมกับ Mahidol...

Start typing and press Enter to search